- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำลายเซลล์มะเร็ง
o เบต้ากลูแคนจับกับตัวรับเฉพาะ Dectin-1, CR3 บนผิวของเม็ดเลือดขาว เช่น Macrophage, natural killer (NK) cells และ T-cells ทำให้เซลล์เหล่านี้ถูกกระตุ้นให้เพิ่มการหลั่งสารทำลายเซลล์ผิดปกติ เช่น TNF-α เป็นต้น ซึ่งมีหน้าที่ทำลายเซลล์ผิดปกติ รวมถึงเซลล์มะเร็ง
o ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถ “รู้จัก” และทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น
- ลดความเสียหายต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันจากยาเคมีบำบัด
o เบต้ากลูแคนมีฤทธิ์เป็น สารต้านอนุมูลอิสระ และมีบทบาทลดภาวะการอักเสบระดับเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่ถูกทำลายมากเกินไป
- เสริมภูมิคุ้มกันโดยรวม ลดโอกาสติดเชื้อ
o ในช่วงที่เม็ดเลือดขาวต่ำ ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อสูง เบต้ากลูแคนช่วยให้แม้จำนวนน้อยของเม็ดเลือดขาวที่เหลืออยู่ ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารดีขึ้น ฟื้นตัวไว และลดอาการอ่อนเพลีย
o เบต้ากลูแคนมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ โดยลดการหลั่ง cytokine อักเสบ เช่น IL-6, TNF-α, IL-1β เมื่อการอักเสบลดลง สมองส่วนที่ควบคุมความอยากอาหาร (hypothalamus) ก็จะทำงานได้ดีขึ้น
o เบต้ากลูแคนมีฤทธิ์คล้าย พรีไบโอติก (prebiotic) ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดี เช่น Bifidobacteria และ Lactobacillus เมื่อสุขภาพลำไส้ดีขึ้น จะช่วย ส่งสัญญาณเชิงบวกไปยังสมอง (gut-brain axis) ทำให้ความอยากอาหารและอารมณ์ดีขึ้น
รูปที่ 1: กลไกของเบต้ากลูแคนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยผ่านทาง M-cells จากเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในลำไส้ไปยังระบบน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
รูปที่ 2 กลไกของ β-กลูแคน ต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
2a: กลไกของ β-กลูแคน ต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง
2b: กลไกของ β-กลูแคนต่อระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง
รูปภาพอ้างอิงจาก: Invest New Drugs DOI 10.1007/s10637-017-0449-9